ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 7 แห่งเลออนและกัสติยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 7
จุลจิตรกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 7 แห่งเลออนใน ตุมโบ เอ, อาสนวิหารซันเตียโกเดกอมโปสเตลา
จักรพรรดิแห่งเอสปัญญาทั้งผอง
ครองราชย์ค.ศ. 1126 – 1157
ราชาภิเษกค.ศ. 1135 ในอาสนวิหารเลออน
รัชกาลก่อนหน้าสมเด็จพระราชินีนาถอูร์รากาที่ 1 แห่งเลออน
รัชกาลถัดไปพระเจ้าซันโชที่ 3 แห่งกัสติยา (กัสติยา)
พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งเลออน (เลออน)
ประสูติ1 มีนาคม ค.ศ. 1105
กัสดัสเดเรส
สิ้นพระชนม์21 สิงหาคม ค.ศ. 1157 (52 พรรษา)
ฝังพระศพอาสนวิหารโตเลโด
พระมเหสีเบเรงเกลาแห่งบาร์เซโลนา
ริเชซาแห่งโปแลนด์
พระบุตรพระเจ้าซันโชที่ 3 แห่งกัสติยา
พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งเลออน
กอนส์ตันซาแห่งกัสติยา
ซันชาแห่งกัสติยา สมเด็จพระราชินีแห่งนาวาร์
ซันชาแห่งกัสติยา สมเด็จพระราชินีแห่งอารากอน
อูร์รากาแห่งกัสติยา สมเด็จพระราชินีแห่งนาวาร์ (นอกสมรส)
เอสเตฟาเนีย อัลฟอนโซแห่งกัสติยา (นอกสมรส)
ราชวงศ์ราชวงศ์บูร์กอญของกัสติยา
พระบิดาแรมงแห่งบูร์กอญ
พระมารดาสมเด็จพระราชินีนาถอูร์รากาที่ 1 แห่งเลออน

พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 7 (สเปน: Alfonso VII; เลออน: Alfonsu VII) หรือ พระเจ้าอัลฟอนโซผู้เป็นจักรพรรดิ (สเปน: Alfonso el Emperador; เลออน: Alfonsu l'Emperador) เสด็จพระราชสมภพ 1 มีนาคม ค.ศ. 1105[1] สิ้นพระชนม์ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1157 ที่เฟรสเนดา ราชอาณาจักรกัสติยา เป็นกษัตริย์เลออนและกัสติยาที่ครองราชย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1126 ถึงปี ค.ศ. 1157 พระองค์เป็นพระโอรสของพระราชินีอูร์รากากับแรมงแห่งบูร์กอญ[1] และเป็นพระนัดดาของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 ทรงอ้างตนเป็นจักรพรรดิ แม้ว่าในรัชสมัยของพระองค์สเปนในสมัยกลางจะเข้าใกล้การเป็นจักรวรรดิมากที่สุด และแม้ว่าพระองค์จะเอาชนะชาวมัวร์ได้ แต่พระองค์ยังคงถูกมองว่าเป็นบุคคลที่ไม่ค่อยมีบทบาทตัวตน

ชีวิตในวัยเยาว์ของพระองค์ค่อนข้างวุ่นวายด้วยการต่อสู้ระหว่างพระมารดา พระราชินีอูร์รากา กับพระสวามีคนที่สอง พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 1 แห่งอารากอน ที่แย่งชิงกันปกครองกัสติยาและเลออน จนเมื่ออูร์รากาสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1216 พระบิดาเลี้ยงของพระองค์วางมือจากการอ้างสิทธิ์ อัลฟอนโซจึงได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากกษัตริย์แห่งอารากอน, กษัตริย์แห่งปัมโปลนา (นาวาร์), เคานต์แห่งบาร์เซโลนา และผู้ปกครองสเปน-มัวร์คนอื่น ๆ ว่าเป็นจักรพรรดิ พระองค์มีชื่อเสียงจากการยึดอัลเมริอามาจากชาวมัวร์ในปี ค.ศ. 1147 รวมถึงชัยชนะครั้งอื่นๆ แต่ก็ขยายอาณาเขตออกไปได้ไม่มาก ทรงเสียอัลเมริอาไปในปี ค.ศ. 1157 และรักษากอร์โดบาไว้ในมือได้เพียง 3 ปี ในปี ค.ศ. 1146 การรุกรานครั้งใหม่ของกลุ่มอัลโมฮัดจากแอฟริกาเหนือเริ่มต้นขึ้น ครั้งนี้อัลฟอนโซหันไปผูกมิตรกับกลุ่มอัลโมราวิดและอุทิศชีวิตที่เหลือให้กับการทำสงครามเพื่อสกัดกั้นการขยายอาณาเขตไปทางใต้ของสเปนของกลุ่มอัลโมฮัด

แม้จะอยู่ในช่วงที่ใกล้จะเป็นจักรวรรดิ แต่ความคิดที่จะแยกตัวออกจากกันยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องในคาบสมุทรไอบีเรีย พระเจ้าอัลฟอนโซไม่สามารถหยุดยั้งโปรตุเกสจากการสถาปนาตนเป็นราชอาณาจักรอิสระ ในพินัยกรรมพระองค์ได้ทำตามตามธรรมเนียมปฏิบัติของชาวสเปน แบ่งอาณาจักรให้กับพระโอรสทั้งสอง คือ พระเจ้าซันโชที่ 3 แห่งกัสติยาและพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งเลออน ซึ่งสุดท้ายแล้วการกระทำนี้ก็ได้ทำลายการเป็นจักรวรรดิของสเปนในสมัยกลาง

สืบทอดสามอาณาจักร

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1111 ดิเอโก เฆลมิเรซ บิชอปแห่งกอมโปสเตลาและเคานต์แห่งตราบาได้รับการสวมมงกุฎและทำพิธี[2] เป็นพระเจ้าอัลฟอนโซแห่งกาลิเซียในอาสนวิหารซานเตียโกเดกอมโปสเตลา[3] พระองค์เป็นบุตรคนเดียว พระมารดาของพระองค์ได้สืบทอดต่อบัลลังก์เลออน-กัสติยา-กาลิเซียที่เป็นหนึ่งเดียวกันและต้องการการันตีตำแหน่งให้พระโอรสจึงเตรียมความพร้อมเพื่อให้พระโอรสได้สืบทอดตำแหน่งต่อ ในปี ค.ศ. 1125 พระองค์ได้สืบทอดราชอาณาจักรโตเลโดที่เคยเป็นของชาวมุสลิม ในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1126 หลังการสิ้นพระชนม์ของพระมารดา พระองค์ได้รับการสวมมงกุฎในเลออน[1] และเริ่มการกอบกู้ราชอาณาจักรกัสติยาที่ตอนนั้นตกอยู่ภายใต้อำนาจของอัลฟอนโซเจ้าสมรภูมิกลับคืนมาทันที ตามสนธิสัญญาสันติภาพแตมาราในปี ค.ศ. 1127 เจ้าสมรภูมิให้การยอมรับว่าพระองค์คือพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 7 แห่งกัสติยา ทว่าอาณาเขตที่อยู่ไกลออกไปทางตะวันออกของดินแดนของพระองค์มีอิสรภาพมากขึ้นในช่วงที่พระมารดาของพระองค์ปกครองและมีการก่อกบฏเกิดขึ้นหลายครั้ง หลังได้รับการยอมรับในกัสติยา อัลฟอนโซต่อสู้เพื่อจำกัดอำนาจของบารอนท้องถิ่น

เมื่ออัลฟอนโซเจ้าสมรภูมิ กษัตริย์แห่งนาวาร์และอารากอน สิ้นพระชนม์โดยไร้ทายาทในปี ค.ศ. 1134 พระองค์ทำพินัยกรรมให้อาณาจักรกลายเป็นภาคีทางทหาร ชนชั้นสูงของราชอาณาจักรทั้งสองไม่ยอมรับความคิดนี้ การ์ซิอา รามิเรซ เคานต์แห่งมอนซอนได้รับเลือกเป็นกษัตริย์แห่งนาวาร์ ขณะที่อัลฟอนโซอ้างสิทธิ์ในบัลลังก์อารากอน แต่ขุนนางกลับเลือกผู้ท้าชิงอีกคน คือ รามิโรที่ 2 ซึ่งเป็นพระอนุชาของกษัตริย์ผู้ล่วงลับ อัลฟอนโซตอบโต้ด้วยการกลับมาอ้างสิทธิ์ในลาริโอฆา และ "พยายามผนวกดินแดนบริเวณซาราโกซาและตาราโซนา"[4]

ในการปะทะกันจำนวนหลายครั้ง พระองค์ปราบกองทัพร่วมนาวาร์-อารากอนได้และยึดเอาราชอาณาจักรมาเป็นที่ดินบริวาร พระองค์ได้รับการสนับสนุนอย่างเหนียวแน่นจากเจ้าของที่ดินทางตอนเหนือของเทือกเขาพิรินีที่ครอบครองดินแดนไปจนถึงแม่น้ำโรน ทว่าสุดท้ายกองกำลังผสมของนาวาร์และอารากอนก็มีอำลังมากเกินกว่าที่พระองค์จะควบคุมได้ พระองค์จึงหันไปช่วยราโมน บารังเกที่ 3 เคานต์แห่งบาร์เซโลนาทำสงครามกับอาณาจักรเคานต์กาตาลาอื่น ๆ เพื่อรวมอดีตมาร์กาอิสปานิกาเป็นหนึ่งเดียว

ปกครองเป็นจักรพรรดิ

[แก้]

วันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1135 พระเจ้าอัลฟอนโซได้รับการสวมมงกุฎเป็น "จักรพรรดิแห่งสเปน" ในอาสนวิหารเลออน[4] พระองค์อาจหวังที่จะแสดงสิทธิ์ในอำนาจเหนือคาบสมุทรทั้งหมดและเป็นผู้นำอย่างสมบูรณ์ในการทำเรกองกิสตา พระองค์พยายามจะทำให้สเปนเป็นชาติที่เป็นหนึ่งเดียวหลังจากที่แตกออกจากกันหลังการล่มสลายของราชอาณาจักรวิซิกอธ ความอ่อนแอของอารากอนทำให้พระองค์มีประสิทธิภาพเหนือกว่าคนอื่น หลังอาฟงซู เอ็งรีกึชยอมรับพระองค์เป็นเจ้านายในปี ค.ศ. 1137 พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 7 พ่ายแพ้สมรภูมิบัลเดเบซในปี ค.ศ. 1141 ทำให้เอกราชของโปรตุเกสได้รับการรับรองในสนธิสัญญาซาโมรา (ค.ศ. 1143)[5] ในปี ค.ศ. 1143 พระองค์ยอมรับสภาพและยอมรับการแต่งงานของเปโตรนียาแห่งอารากอนกับราโมน บารังเกที่ 4 เคานต์แห่งบาร์เซโลนา ซึ่งเป็นการแต่งงานที่รวมอารากอนกับกาตาลุญญาเข้าด้วยเป็นราชบัลลังก์อารากอน

ครอบครัว

[แก้]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1128 พระองค์อภิเษกสมรสกับเบเรงเกลา[6] บุตรสาวของราโมน บารังเกที่ 3 เคานต์แห่งบาร์เซโลนา เบเรงเกลาสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1149 ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกัน คือ

ในปี ค.ศ. 1152 อัลฟอนโซอภิเษกสมรสกับรึกซาแห่งโปแลนด์ บุตรสาวของวาดึสวัฟที่ 2 ผู้ถูกขับไล่ออกจากประเทศ[9] ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกัน คือ

พระเจ้าอัลฟอนโซยังมีภรรยาลับอีกสองคนซึ่งพระองค์มีบุตรกับทั้งคู่ บุตรสาวนอกสมรสของพระองค์กับธิดาขุนนางชาวอัสตูเรียสชื่อกอนโตรโด เปเรซ คืออูร์รากา (ค.ศ. 1132–1664) ที่ต่อมาแต่งงานกับพระเจ้าการ์ซิอา รามิเรซ แห่งนาวาร์ กอนโตรโด เปเรซ เกษียณตัวเข้าคอนแวนต์ในปี ค.ศ. 1133[10] ในปลายรัชสมัย ทรงมีสัมพันธ์ชู้สาวกับอูร์รากา เฟร์นันเดซ ภรรยาม่ายของเคานต์โรดริโก มาร์ติเนซ จนมีบุตรสาวด้วยกันคือเอสเตฟานิอาผู้โชคร้าย (ค.ศ. 1148–1180) ที่ถูกเฟร์นัน รุยซ์ เด กัสโตร สามีขี้หึง สังหาร

อ้างอิง

[แก้]
  • Alfonso VII KING OF LEON AND CASTILE: The Editors of Encyclopaedia Britannica
  1. 1.0 1.1 1.2 Reilly 2003, p. 59.
  2. Fletcher 1984, p. 133.
  3. Stroll 2004, p. 239.
  4. 4.0 4.1 Reilly 2003, p. 60.
  5. Reilly 2003, p. 60.
  6. Barton 1997, p. 286.
  7. Reilly 1998, pp. 27–28.
  8. Bryson 1999, p. 29.
  9. Reilly 1998, p. 114.
  10. Reilly 1998, p. 114.